Skip links

เทคนิควางแผนภาษีฉบับมนุษย์เงินเดือน ให้คุ้มค่าและเหลือเก็บ

วางแผนภาษี

การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นสิ่งที่มนุษย์เงินเดือนควรคิดล่วงหน้าให้พร้อม เพราะทุกคนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้กับทางภาครัฐตามกฎหมาย ใครที่ยังสับสนอยู่ว่า ต้องคำนวณภาษีอย่างไร รายได้เท่าไหร่ถึงเข้าเกณฑ์เสียภาษี ภาระแบบไหนบ้างที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ วันนี้ Accounting Journey ได้นำข้อมูลสำคัญที่หลายคนอยากรู้ เกี่ยวกับการวางแผนภาษีบุคคลธรรมดา ติดตามได้ในบทความนี้

มนุษย์เงินเดือนต้องเริ่มยื่นภาษีเมื่อไหร่

สำหรับผู้ที่ต้องยื่นแบบภาษี ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1), 40(2) สำหรับคนโสดผู้ที่มีรายได้จากเงินเดือนเฉลี่ยปีละ 120,000 บาท หรือตกเดือนละ 10,000 บาทต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี หรือเงินค่าจ้างประเภทอื่น ๆ ปีละ 60,000 บาท ตกเดือนละ 5,000 บาท

ส่วนผู้ที่สมรสแล้วจะต้องมีรายได้จากเงินเดือนทั้งปี 220,000 บาท เฉลี่ยเดือนละ 18,333 บาท และเงินค่าจ้างประเภทอื่น ๆ รวมกันปีละ 120,000 บาท หรือตกเดือนละ 10,000 บาท ทั้งนี้ผู้ที่ต้องยื่นแบบแสดงภาษีไม่ได้หมายความว่าจะต้องเสียภาษีทุกคน เพราะผู้ที่เข้าเกณฑ์จะต้องมีรายได้สุทธิรวมแล้วมากกว่า 150,000 บาทต่อปีจะต้องเสียภาษีในอัตรา 5%

เงินได้พึงประเมินคืออะไร

เงินได้พึงประเมิน คือ รายได้ทั้งปีที่ได้จากการทำงานมารวมกัน โดยปัจจุบันกรมสรรพากรได้แบ่งเงินได้พึงประเมินไว้ทั้งหมด 8 ประเภท ได้แก่

  • เงินได้ประเภทที่ 1 เงินที่ได้จากการจ้าง
  • เงินได้ประเภทที่ 2 เงินได้จากตำแหน่งงาน
  • เงินได้ประเภทที่ 3 ค่าลิขสิทธิ์
  • เงินได้ประเภทที่ 4 ดอกเบี้ย เงินปันผล ผลประโยชน์จากการลงทุน
  • เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
  • เงินได้ประเภทที่ 6 ค่าวิชาชีพอิสระ
  • เงินได้ประเภทที่ 7 เงินได้จากการเป็นผู้รับเหมา
  • เงินได้ประเภทที่ 8 เงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์
หรือสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ เงินได้พึงประเมินกับการหักค่าใช้จ่าย
วิธีคำนวณภาษีเงินได้

วิธีคำนวณภาษีเงินได้

ในการวางแผนภาษีนั้น ทุกคนจะต้องทำความเข้าใจกับวิธีคำนวณภาษีเสียก่อน โดยจะต้องคำนวณเงินสุทธิจึงจะได้ตัวเลขที่แท้จริงและนำมาคูณกับอัตราภาษี ซึ่งหลายคนสงสัยว่าเงินได้สุทธิได้มาจากอะไร คำตอบคือ เงินได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน สามารถนำมาคำนวณภาษีได้ด้วยสูตรดังนี้

เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

อัตราภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

ตัวอย่างการคำนวณภาษี

นาย A มีรายได้เดือนละ 35,000 บาท รวมทั้งปีเท่ากับ 420,000 บาท มีค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาท หักค่าประกันสังคมปีละ 9,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัวจากการเลี้ยงดูพ่อ-แม่ 60,000 บาท 

เงินได้สุทธิ 420,000 – 100,000 – 9,000 – 60,000 = 251,000 บาท

อัตราภาษีที่ต้องจ่าย 251,000 x 5% = 12,550 บาท

หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายส่วนตัวสามารถหักได้ 50% จากเงินได้ทั้งปีแต่ไม่เกิน 100,000 บาท และประกันสังคมที่มีการสมทบเดือนละ 750 บาท นำไปใช้หักรายได้สุทธิได้สูงสุด 9,000 บาท (เป็นการคิดรวมค่าประกันสังคม 1 ปี)

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เพื่อให้วางแผนภาษีง่ายขึ้น สามารถเช็กอัตราเงินได้ที่เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษีจากตารางด้านล่างดังนี้

 

เงินได้สุทธิ

ช่วงเงินได้สุทธิ

อัตราภาษีคิดเป็น %

0 – 150,000 บาท

150,000 บาท

ได้รับการยกเว้น

150,001 – 300,000 บาท

150,000 บาท

5%

300,001 – 500,000 บาท

200,000 บาท

10%

500,001 – 750,000 บาท

250,000 บาท

15%

750,001 – 1,000,000 บาท

250,000 บาท

20%

1,000,001 – 2,000,000 บาท

1,000,000 บาท

25%

2,000,001 – 5,000,000 บาท

3,000,000 บาท

30%

5,00,001 บาทขึ้นไป

 

35%

รายการลดหย่อนที่ควรรู้เพื่อวางแผนภาษี

หลังจากที่ได้เรียนรู้วิธีการคำนวณภาษีกันไปแล้ว จะสังเกตได้ว่ามีการนำรายการลดหย่อนมาหักเงินได้เพื่อให้เป็นเงินได้สุทธิเข้าไปด้วย โดยรายการลดหย่อนภาษีสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

รายการลดหย่อนภาษีเฉพาะบุคคล

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนบุตร 30,000-60,000 บาท/คน
  • ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบิดามารดา 30,000 บาท/คน
    (ของตนเองและคู่สมรส)
  • ค่าลดหย่อนอุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ 60,000 บาท/คน
  • ค่าฝากครรภ์และทำคลอดท้องละ 60,000 บาท

รายการลดหย่อนภาษีจากการออม ประกัน และการลงทุน

  • ประกันสังคมลดหย่อนได้ไม่เกิน 9,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนสูงสุด 100,000 บาท
    (ระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปี)
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
    (ระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปี)
  • เบี้ยประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ ลดหย่อนสูงสุด 25,000 บาท
    (เมื่อนำเบี้ยไปรวมกับประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท)
  • เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
    (บิดามารดา ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท)
  • เงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) สูงสุด 100,000 บาท
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
    ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
    ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ
    ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
    ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
  • ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
    ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

รายการลดหย่อนภาษีจากการบริจาค

  • เงินบริจาคพรรคการเมืองตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 10,000 บาท
  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ 2 เท่าของเงินบริจาค
    แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้
  • เงินบริจาคทั่วไป ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน

โครงการลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ

  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
  • โครงการ Easy e-Receipt (2567) ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท (ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลในแต่ละปี)
สรุปเกี่ยวกับเทคนิควางแผนภาษีฉบับมนุษย์เงินเดือน

สรุปเกี่ยวกับเทคนิควางแผนภาษีฉบับมนุษย์เงินเดือน

การวางแผนภาษีเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ Accounting Journey ขอแนะนำให้มนุษย์เงินเดือนทุกคนที่ฐานเงินเดือนสุทธิเข้าเกณฑ์ ควรวางแผนภาษีไว้ตั้งแต่ต้นปีได้เลยจะได้ไม่ยุ่งยากในช่วงยื่นแบบภาษีเงินได้ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนกับประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ทำประกันชีวิตให้พ่อกับแม่ และติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐทุกปี ไม่แน่ ปีนี้อาจจะเป็นปีแรกที่คุณสามารถขอคืนภาษีจากสรรพากรได้ก็เป็นได้

ยินดีให้คำปรึกษา

ให้คำปรึกษาโดยทีม Accounting Journey ซึ่งนำทีมโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) และมีทีมงานที่มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านบัญชี ภาษี ตรวจสอบบัญชี กฎหมาย วิเคราะห์ข้อมูล และการวางแผนธุรกิจร่วมด้วย ซึ่งจะสามารถตอบคำถามให้คุณได้อย่างครบถ้วนถูกต้องในทุกประเด็น

Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า