Skip links

ข้อควรรู้และกลยุทธ์การวางแผนภาษีเพื่อธุรกิจ

ภาษีเป็นสิ่งที่ใครหลายๆคนกังวล เมื่อเริ่มมาทำธุรกิจอย่างจริงจัง เพราะเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องเสียกันอยู่แล้ว บางรายเสียภาษีเดือนละครั้ง บางรายเสียภาษีปีละครั้ง บางรายเสียภาษีมาก บางรายเสียภาษีน้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะการประกอบธุรกิจของแต่ละรายไป แต่จะดีกว่ามั้ย? ถ้าเราสามารถลดจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายลงไปได้ โดยไม่ใช้วิธีผิดกฎหมาย วันนี้ Accounting Journey มีคำตอบมาให้

การวางแผนภาษีคืออะไร?

การวางแผนภาษี หรือ Tax Planning คือ การทำความเข้าใจในหลักปฏิบัติทางภาษี นำมาวิเคราะห์ และวางแผนการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ได้รับประโยชน์ทาภาษีมากที่สุดหรือช่วยลดจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายให้จ่ายน้อยที่สุด แต่แผนงานที่วางไว้นี้จะยังคงอยู่ภายใต้หลักความถูกต้องครบถ้วนตามหลักภาษีของกรมสรรพากร มิใช่การใช้วิธีการหลีกเลี่ยงภาษี (Tax Evasion) หรือการหลบหลีกภาษี (Tax Avoidance) เช่น การวางระบบการออกเอกสารให้ถูกต้อง ก็จะช่วยลดประเด็นปัญหาทางภาษีกับกรมสรรพากรลงได้

การหลีกเลี่ยงภาษี (Tax Evasion) และการหลบหลีกภาษี (Tax Avoidance) คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร?

หลายคนอาจจะยังสับสนระหว่าง การวางแผนภาษี (Tax Planning) การหลีกเลี่ยงภาษี (Tax Evasion) และการหลบหลีกภาษี (Tax Avoidance) ว่าคืออะไร แต่ละวิธีแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งความหมายของการวางแผนภาษีเราได้อธิบายไปก่อนหน้านี้แล้ว และสำหรับความหมายของอีก 2 วิธี สามารถอธิบายได้ดังนี้

การหลีกเลี่ยงภาษี (Tax Evasion) คืออะไร?

การหลีกเลี่ยงภาษี (Tax Evasion) บอกก่อนเลยว่า เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการหลีกเลี่ยงภาษี คือ การจงใจหรือมีเจตนาที่จะไม่เสียภาษี หรือเสียภาษีในจำนวนที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ซึ่งต้องรับโทษทางอาญา หรือมีเบี้ยปรับเงินเพิ่มเพิ่มขึ้นได้ เช่น การปลอมแปลงเอกสารค่าใช้จ่าย เพื่อลดกำไรของกิจการ ให้เสียภาษีน้อยลง หรือการจงใจไม่ยื่นแบบเพื่อเสียภาษี ไม่จ่ายชำระค่าภาษีเลย หรือการเจตนาแจ้งข้อความเท็จในการยื่นแบบภาษี เป็นต้น

การหลบหลีกภาษี (Tax Avoidance) คืออะไร?

การหลบหลีกภาษี (Tax Avoidance) คือ การอาศัยช่องโหว่ (Loophole) ของหลักกฎหมายทางภาษีที่เปิดช่องให้กระทำได้โดยไม่ผิดกฎหมายมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้กิจการเสียภาษีได้น้อยลง การหลบหลีกภาษีมีความใกล้เคียงกับการวางแผนภาษีคือมีความต้องการที่จะเสียภาษีให้ได้น้อยที่สุด โดยการหลบหลีกภาษีจะอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อให้ลดจำนวนภาษีได้ แต่การวางแผนภาษีจะอาศัยการคิดวิเคราะห์และบริหารจัดการที่ดีเพื่อให้ลดจำนวนภาษีได้

ขั้นตอนการวางแผนภาษีมีอะไรบ้าง?

ขั้นตอนการวางแผนธุรกิจ สามารถสรุปได้ดังนี้

  1. ทำความเข้าใจกิจการของตนเอง ทั้งโครงสร้างองค์กร ลักษณะการประกอบธุรกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระบบการทำงานหรือการควบคุมภายในต่างๆ เป็นต้น
  2. วิเคราะห์ข้อมูลของกิจการในเชิงลึก เช่น เอกสารทางบัญชี นโยบายทางบัญชี หรืองบการเงิน
  3. ประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ ดูจุดแข็ง จุดอ่อน จากวิธีปฏิบัติงานในปัจจุบัน
  4. สรุปปัญหาทางภาษีที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนคต และต้นเหตุของปัญหานั้นๆ
  5. วางแผนการทำงาน เพื่อขจัดปัญหาที่ระบุได้
  6. ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ โดยขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
  7. ประเมินและติดตามผลว่าสามารถลดปัญหาทางภาษีได้มากน้อยเพียงใด
  8. แก้ไขแผนงานในจุดที่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาทางภาษีได้ สามารถหาความรู้ หรือไปอบรมหลักสูตรที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติมได้
  9. หาทีมที่ปรึกษาที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษีมาช่วยวางแผน ซึ่งท่านสามารถปรึกษาหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมจากทาง Accounting Journey ได้

สิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติมเพื่อช่วยวางแผนภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นมีอะไรบ้าง?

การวางแผนภาษี หากเรามีความรู้ในประเด็นเหล่านี้เพิ่มเติม ก็อาจจะช่วยให้แผนงานของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น

  • เข้าใจการคำนวณภาษีของธุรกิจประเภทต่างๆ เช่น ธุรกิจขนาด SME หรือธุรกิจขนาดปกติ
  • คอยติดตามมาตรการการลดหย่อนภาษีที่รัฐบาลให้การสนับสนุนในทุกๆปี
  • เข้าใจแบบภาษีประเภทต่างๆ กำหนดการยื่นแบบและการเสียภาษีในแต่ละครั้ง

ความสำคัญของการวางแผนภาษีมีอะไรบ้าง?

การวางแผนภาษีมีความสำคัญต่อกิจการดังนี้

  • ช่วยให้กิจการสามารถเสียภาษีในจำนวนที่น้อยที่สุด แต่วิธีการยังคงถูกต้องตามหลักของกรมสรรพากร
  • ลดความเสี่ยงในเรื่องของเบี้ยปรับเงินเพิ่ม หรือการถูกตรวจสอบบเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากร
  • ช่วยให้กิจการและพนักงานทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีมากยิ่งขึ้น และยินดีที่จะให้ความร่วมมือ เพราะมีเป้าหมายที่ชัดเจนคือการประหยัดภาษี
  • ระบบการควบคุมภายในของกิจการมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะต้องมีการออกแบบและวางแผนการทำงานให้ถูกต้องและสอดคล้องกับหลักการของกรมสรรพากร
  • สร้างความน่าเชื่อถือให้กับกิจการได้ หากกิจการไม่มีประเด็นในเรื่องภาษีกับกรมสรรพากร การเจรจากับสถาบันการเงิน นักลงทุน หรือพันธมิตรทางการค้าต่างๆ ก็จะง่ายขึ้น
  • หากสามารถวางแผนภาษีให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดได้ นอกจากกิจการจะเสียภาษีได้น้อยที่สุดแล้ว กิจการอาจจะสามารถขอคืนภาษีได้แทน เป็นการเพิ่มกระแสเงินสดให้กับกิจการได้อีกทางหนึ่ง
  • กิจการสามารถขยายธุรกิจ หรือเปิดกิจการอื่นๆ เพิ่มเติมได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องภาษี เพราะมีประสบการณ์และการวางแผนภาษีที่ดีแล้ว

สรุปเกี่ยวกับการวางแผนภาษี

ในการทำธุรกิจเรื่องของภาษี หากใครสามารถวางแผนภาษีได้ดีก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว เพราะเป็นการลดต้นทุนในการทำธุรกิจได้อีกทางหนึ่ง สำหรับใครที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการวางแผนภาษี หรือเรื่องเกี่ยวกับภาษีอื่นๆ สามารถติดต่อสอบถาม หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมกับ Accounting Journey ทางเว็บไซต์, อีเมล admin@accounting-journey.co.th หรือโทร 080-9898-914 ได้ทุกวัน

ยินดีให้คำปรึกษา

ให้คำปรึกษาโดยทีม Accounting Journey ซึ่งนำทีมโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) และมีทีมงานที่มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านบัญชี ภาษี ตรวจสอบบัญชี กฎหมาย วิเคราะห์ข้อมูล และการวางแผนธุรกิจร่วมด้วย ซึ่งจะสามารถตอบคำถามให้คุณได้อย่างครบถ้วนถูกต้องในทุกประเด็น

Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า