Skip links

ภาษีซื้อ ภาษีขาย ภาษีที่เราเจอกันบ่อยสุดๆ

ภาษีซื้อ ภาษีขาย เป็นภาษีที่บุคคลธรรมดาอย่างเรามักพบเจอกันอยู่บ่อยครั้งจากการซื้อสินค้าหรือใช้บริการในชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่กิจการประเภทต่างๆ ก็จะพบเจอบ่อยครั้งเช่นกัน เนื่องจากเป็นภาษีที่ผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทุกรายมีหน้าที่ที่จะต้องบริหารจัดการภาษีในส่วนนี้ให้ถูกต้องครบถ้วนเพื่อนำส่งให้กรมสรรพากรในทุกๆเดือน แต่สำหรับความแตกต่างของภาษีทั้ง 2 ประเภทนี้คืออะไร ประโยชน์ที่มีต่อการทำธุรกิจของภาษีทั้ง 2 ประเภทนี้คืออะไร หน้าที่ความรับผิดชอบ และการเสียภาษีประเภทนี้ต้องทำอย่างไรบ้าง วันนี้ Accounting Journey จะมาอธิบายให้เข้าใจกันมากยิ่งขึ้น

ภาษีซื้อ คืออะไร

ภาษีซื้อ หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มรายอื่นเรียกเก็บเนื่องจากมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการ หากภาษีซื้อเกิดขึ้นในเดือนใดก็ให้เป็นภาษีซื้อของเดือนนั้นๆ โดยไม่คำนึงว่าสินค้าที่ซื้อมานั้นจะขายหรือนำไปใช้ผลิตในเดือนใดก็ตาม

ภาษีขาย คืออะไร

ภาษีขาย หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจะเรียกเก็บโดยคำนวณจากราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บอยู่ ณ ปัจจุบัน เช่น อัตราทั่วไปคืออัตราร้อยละ 10 แต่มีพระราชกฤษฎีกาลดอัตราลงเหลือร้อยละ 7 นอกจากนี้ยังมีอัตราร้อยละ 0 สำหรับผู้ประกอบการส่งสินค้าออก เป็นต้น หากภาษีขายเกิดขึ้นในเดือนใดก็ให้เป็นภาษีขายของเดือนนั้น โดยไม่คำนึงว่าสินค้าที่ขายหรือการให้บริการนั้นจะซื้อมาหรือเป็นผลมาจากการผลิตของเดือนใดก็ตาม

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มคือใคร

ผู้ประกอบการที่มีรายได้เกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่มีรายได้ต่ำกว่านี้ไม่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าประสงค์จะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็สามารถทำได้ โดยกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมี 3 ประเภทหลักๆ คือ

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจัดทำรายงานใดบ้าง

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานเกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังนี้

  • รายงานภาษีขาย
  • รายงานภาษีซื้อ
  • รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประกอบกิจการขายสินค้า)

ภาษีซื้อ ภาษีขาย เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ภาษีซื้อ ภาษีขาย เป็นภาษีที่อยู่ในระบบของภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระเป็นรายเดือน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อนำส่งให้กรมสรรพากร ซึ่งการคำนวณเป็นดังนี้

                                         ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ


ผลการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระคือ ส่วนต่างของภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ หากผลการคำนวณออกมาดังนี้

  • ออกมาเป็น + หมายถึง ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องนำส่วนต่างไปชำระภาษีในเดือนนั้นๆ
  • ออกมาเป็น – หมายถึง ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ต้องชำระภาษีสำหรับเดือนนั้นๆ และส่วนต่างที่เกิดขึ้นสามารถขอคืนเป็นเงินสดหรือนำไปเครดิตในเดือนถัดไปได้

การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต้องยื่นเมื่อใด

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทุกราย มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือน ด้วยแบบ ภ.พ.30 โดยต้องยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป (ในกรณีที่ยื่นแบบกระดาษ หากเป็นการยื่นแบบออนไลน์ สามารถยื่นได้เพิ่มอีก 8 วัน)

สรุปเกี่ยวกับภาษีซื้อ ภาษีขาย

ภาษีซื้อ ภาษีขาย ถ้าเรามีความรู้ความเข้าใจในภาษี 2 ประเภทนี้เป็นอย่างดี ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร บริหารจัดการเป็นระบบ จะสามารถทำให้เราเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ท่านใดที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับภาษีซื้อ ภาษีขาย หรือข้อมูลอื่นๆเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติม ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลกับ Accounting Journey ทางเว็บไซต์, อีเมล admin@accounting-journey.co.th หรือโทร 080-9898-914 ได้ทุกวัน

ยินดีให้คำปรึกษา

ให้คำปรึกษาโดยทีม Accounting Journey ซึ่งนำทีมโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) และมีทีมงานที่มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านบัญชี ภาษี ตรวจสอบบัญชี กฎหมาย วิเคราะห์ข้อมูล และการวางแผนธุรกิจร่วมด้วย ซึ่งจะสามารถตอบคำถามให้คุณได้อย่างครบถ้วนถูกต้องในทุกประเด็น

Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า