Skip links

สิ่งที่นักบัญชีต้องทำสำหรับการปิดงบการเงินประจำปี และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

สำหรับการปิดงบการเงินประจำปี มีหลายสิ่งที่นักบัญชีต้องจัดทำ นักบัญชีต้องมีการวางแผนงานอย่างเหมาะสม เพื่อให้งานเสร็จทันตามกำหนดเวลา และไม่สร้างความเสียหายให้กับธุรกิจ

วันนี้ทาง Accounting Journey ได้สรุปกำหนดการต่างๆ อย่างคร่าวๆ มาให้ได้ทราบกันว่าการปิดงบการเงินประจำปีมีขั้นตอนหลักและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อย่างไรบ้าง นักบัญชีต้องยื่นแบบอะไร กับหน่วยงานใด และเมื่อใดบ้าง ตามไปดูกันได้เลยค่ะ

สิ่งที่นักบัญชีต้องทำสำหรับการปิดงบการเงินประจำปีและงานรายปีอื่นๆ มีดังนี้

1-31 ธันวาคม จัดทำหนังสือยืนยันยอดธนาคาร (Bank Confirmation)

31 มกราคม จ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนปีปัจจุบัน (กท.26 ก) กับสำนักงานประกันสังคม

31 มกราคม ยืนยันรายชื่อธุรกิจที่รับทำบัญชีกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

1-28 กุมภาพันธ์ ปิดงบการเงินประจำปี

28 กุมภาพันธ์ รายงานค่าจ้างประจำปีที่จ่ายจริงของปีก่อน (กท.20 ก)/e-wage กับสำนักงานประกันสังคม

8 มีนาคม นำส่งแบบ ภ.ง.ด.1ก กับกรมสรรพากร

31 มีนาคม จ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเพิ่มเติมจากการรายงานค่าจ้างปีก่อน (ถ้ามี) (กท.25 ค) กับสำนักงานประกันสังคม

1-31 มีนาคม ส่งงบการเงินประจำปีให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบ

8 เมษายน นำส่งแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี กับกรมสรรพากร

10-20 เมษายน ประกาศเชิญประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี (7 วันก่อนวันประชุม)

30 เมษายน จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี (4 เดือนนับจากวันสิ้นรอบบัญชี)

14 พฤษภาคม นำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (14 วันหลังจากวันประชุม)

31 พฤษภาคม นำส่งงบการเงินประจำปี กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (1 เดือนนับจากวันประชุม)

6 มิถุนายน นำส่งแบบ ภ.ง.ด.50 กับกรมสรรพากร (150 วันนับจากวันสิ้นรอบบัญชี)

8 กันยายน นำส่งแบบ ภ.ง.ด.51 กับกรมสรรพากร (ภายใน 2 เดือน นับจากวันที่สิ้นรอบระยะเวลา 6 เดือน)

8 ตุลาคม นำส่งแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบครึ่งปี กับกรมสรรพากร

 

*หมายเหตุ: กำหนดการยื่นแบบต่างๆกับกรมสรรพากรเป็นกำหนดการยื่นแบบของการยื่นแบบออนไลน์เท่านั้น

ถ้าดูจากกำหนดการต่างๆ จะเห็นได้ว่า นักบัญชีมีสิ่งที่ต้องทำตลอดทั้งปีได้เลยนะคะ วางแผนงานของตัวเองกันให้ดีดีค่ะ ยังไงก็เป็นกำลังใจให้นักบัญชี ผู้ร่วมวิชาชีพเดียวกันทุกท่านค่ะ 

ยินดีให้คำปรึกษา

ให้คำปรึกษาโดยทีม Accounting Journey ซึ่งนำทีมโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) และมีทีมงานที่มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านบัญชี ภาษี ตรวจสอบบัญชี กฎหมาย วิเคราะห์ข้อมูล และการวางแผนธุรกิจร่วมด้วย ซึ่งจะสามารถตอบคำถามให้คุณได้อย่างครบถ้วนถูกต้องในทุกประเด็น

Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า